สามย่านมิตรทาวน์ มิตรสัมพันธ์ของการเปลี่ยนผ่านย่านจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต

Visit / 12 ก.พ. 2020

“สามย่าน” ย่านเก่าแก่ของชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนที่อยู่อาศัยทำมาหากินกันมาช้านาน อาคารพาณิชย์ที่เรียงรายตลอดแนว ซุกซ่อนร้านอาหารลับรสเลิศอยู่หลายร้าน ซึ่งนับได้ว่าเป็นแหล่งเลี้ยงปากท้องหลัก ทั้งมื้อเช้า กลางวันและค่ำ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งยังเป็นย่านหลักของการค้าขายอะไหล่และส่วนประกอบรถยนต์ กาลเวลาผ่านไปที่ดินย่านนี้ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถูกปรับเปลี่ยน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบันที่เป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ บนพื้นที่กว่า 14 ไร่ ซึ่งส่วนหนึ่งเคยเป็นตลาดสามย่านอันเป็นจุดดึงดูดหลักของย่านนี้ ได้ถูกยุบรวมและกลายเป็นอาคารขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ “สามย่านมิตรทาวน์”

สามย่านมิตรทาวน์

“สามย่านมิตรทาวน์” โดย บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดให้บริการเมื่อเดือนกันยายน ปี 2562 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งโครงการ talk of the town ที่ได้รับความสนใจและเป็นกระแสกันอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจุดหมายให้ใครหลายๆ คนต้องแวะไปเยือนเพื่อถ่ายรูปเช็คอิน ตั้งแต่ทางเข้าจากอุโมงค์ทางเชื่อมจากรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สถานีสามย่าน ก่อนจะเข้าสู่ตัวอาคารกันเลยทีเดียว แม้จะเป็นโครงการใหม่ที่ดูทันสมัย แต่ทางเจ้าของโครงการและกลุ่มผู้ออกแบบ จากบริษัท Plan Associates Co.,LTD. และ บริษัท Urban Architects Co,.LTD ต่างมีจุดประสงค์ร่วมกันที่จะรักษา ฟื้นฟูสเน่ห์และจิตวิญญาณความเป็นย่านของพื้นที่เดิมขึ้นมาใหม่ โดยให้สอดรับกับความต้องการของผู้คนและสังคมในปัจจุบัน

สามย่านมิตรทาวน์
สามย่านมิตรทาวน์

“สามย่าน มิกซ์ยูส” โครงการสามย่านมิตรทาวน์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า สำนักงานและที่พักอาศัย โดยในส่วนของสำนักงานจะอยู่หัวมุมของสี่แยก แนวแกนต่างๆ ของเมืองตัดกันจนเกิดเป็นรูปทรงของอาคารสำนักงานที่ดูคล้ายผลึกแก้ว สะท้อนไปยังรูปทรงเปลือกอาคารของส่วนที่พักอาศัยซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งด้วย โดยมีศูนย์การค้าเป็นฐานโพเดียมทำหน้าที่เชื่อมอาคารสูงทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งในส่วนศูนย์การค้านี้แยกออกได้ 3 ย่าน คือ ย่าน main street ในส่วนชั้น Basement และ Ground ทำหน้าที่เชื่อมเมือง ถนนและพื้นที่โดยรอบเข้ามาภายในโครงการ ทั้งจากทางเดินเท้าและอุโมงค์ใต้ดิน โดยออกแบบให้ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นเมืองที่มีถนนหลักและร้านค้าอยู่ริมสองฝั่งของถนน แวดล้อมไปด้วยร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารต่างๆ รวมถึงร้านอาหารเก่าแก่ที่เป็นตำนานในย่านนี้ด้วย

สามย่านมิตรทาวน์
สามย่านมิตรทาวน์

ย่าน lifestyle อยู่ในพื้นที่ชั้น 2-4 รองรับพฤติกรรมและความต้องการของผู้คนด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งร้านค้า โรงเรียน การบริการอื่นๆ รวมไปถึงพื้นที่ public space และ Co-Working Space ที่เปิดให้บริการสำหรับนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป ตลอด 24 ชั่วโมง และย่านสุดท้าย คือ Food & Learning Hub บนชั้น 5-6 ประกอบไปด้วยร้านอาหาร โรงหนัง ห้องอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ และยังมีสวนลอยฟ้าที่เป็นพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองอีกด้วย ในการออกแบบพื้นที่ทั้ง 3 ย่านนี้ กลุ่มผู้ออกแบบได้คำนึงถึงการเข้าถึง เชื่อมต่อและความต่อเนื่องของพื้นที่เป็นหลักสำคัญ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อการออกแบบและใช้งานแก่ผู้ใช้สอย

สามย่านมิตรทาวน์

การออกแบบให้มีส่วน outdoor และ indoor ในสถานที่เดียวกัน เพื่อสร้างทางเลือกและความแตกต่าง อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ภายใน นอกจากนี้ส่วน outdoor ยังช่วยประหยัดพลังงานและช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี ซึ่งเป็นส่วนพื้นที่สำหรับให้บริการ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ภายนอกอาคารในส่วนหัวมุมถนนจะมีลักษณะเป็นอาคารขนาดเล็กซ้อนอยู่ในอาคารใหญ่ ช่วยให้เกิด sense of place ของอาคารพาณิชย์ที่เป็นบริบทเดิมของสามย่าน และรูปแบบลายช่องลมที่ประดับตกแต่งอยู่บนอาคารพาณิชย์เดิม ในยุค Mid Century ถูกนำมาปรับใช้เป็นเปลือกอาคารและส่วนต่างๆ ของศูนย์การค้า โดยทำขึ้นด้วยวัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างความทรงจำที่ต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน

สามย่านมิตรทาวน์
สามย่านมิตรทาวน์
สามย่านมิตรทาวน์
สามย่านมิตรทาวน์
โดย ASACREW
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Visit

    โรงเรียนบ้านคลองบอน: พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์จากภาพวาดเพื่อสร้างภาพฝัน

    เรื่อง: กิตติ เชาวนะ ภาพ: ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง ท่ามกลางแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมบริเวณอ่าวพังงาระหว่างพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต “เกาะยาวใหญ่” เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญของการท่องเที่ยวพักผ่อนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจจากธุรก…

    โดย ASACREW
  • Visit

    “Darunbannalai” the Library for Kids บ้านโบราณซอยวัดม่วงแค สู่ห้องสมุดเจ้าตัวจิ๋ว

    จากแนวคิด“บุงโกะ” ของประเทศญี่ปุ่น ที่แม้บ้านและผู้ใหญ่รักการอ่านมักดัดแปลงบ้านของตนให้เป็นห้องสมุดในชุมชนสำหรับเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งมีภารกิจ “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” มองหาสถานที่ในฝันที่จะเป็นพื้นที่แบ่งปันก…

    โดย asa
  • Visit

    @ Saima Park & Market

    เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: Courtesy of Office AT At Saima Market เป็นโครงการอาคารเพื่อการพาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ย่านไทรม้า จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นผลงานการออกแบบจากบริษัทสถาปนิก Office AT ที่มีความพิเศษกว่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปคือการแบ่งพื้นที่โครงการส่วนหนึ่…

    โดย ASACREW