อาคาร 9 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เรือนไม้เก่ากว่า 70 ปีที่ยังมีลมหายใจ

Visit / 28 ต.ค. 2018

โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เดิมชื่อ “โรงเรียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์” จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณวัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาทางราชการแผนกมหาดไทยได้ยกศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดกลางเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ภายหลังโรงเรียนได้รับพิจารณาให้ย้ายสถานที่ใหม่มาตั้งบริเวณสวนหม่อน (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาล 2) และทางราชการได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดบุรีรัมย์ “ศรีบุรีรัมย์” ในปี พ.ศ. 2481 จนถึงปี พ.ศ. 2483 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณ 20,000 บาท สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่ป่าด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟจังหวัดบุรีรัมย์ โดยสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ

หลังจากสร้างอาคารเสร็จในวันชาติที่  24 มิถุนายน 2485 โรงเรียนจึงได้ย้ายจากพื้นที่เดิม (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทศบาล 2) มาอยู่ในพื้นที่โรงเรียนใหม่แห่งนี้ (สถานที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียน“บุรีรัมย์วิทยาลัย” หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2515  ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

 

อาคารเรียนไม้ 2 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียนมีชื่อว่า “เกียรติยศศักดิ์ศรี บุรีรัมย์พิทยาคม” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาคาร 9 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ด้านหน้าทางเข้าโรงเรียนลักษณะของอาคารเป็นอาคารไม้สองชั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งบนฐานราก ก่อด้วยซีเมนต์ ด้านหน้าตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ ยาว 54 เมตร กว้าง 8 เมตร

ด้านหน้าตรงกลางมีมุขยื่นออกมาจากอาคาคารยาว 5 เมตร กว้าง 11 เมตร มีห้องเรียน 12 ห้องเรียน หน้าต่างอาคารเป็นแบบบานเปิดคู่มีลักษณะพิเศษคือลูกฟักหน้าต่าง สามารถเปิดออกได้

ปัจจุบันอาคารหลังนี้ใช้เป็นอาคารเรียน ชั้นล่างเป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีห้องเกียรติยศเพื่อเก็บผลงาน รวบรวมประวัติต่างๆ ของโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคมไว้

โดย asa
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Visit

    Bitwise Headquarter

    เรื่อง: จักรสิน น้อยไร่ภูมิ ภาพ: พุทธิพันธ์ อัศวกุล ย้อนกลับไปในช่วงระหว่าง 30 ปี ถึง 15 ปี ปีก่อนคริสตศักราช มาคัส วิทรูเวียส สถาปนิกและวิศวกรเอกแห่งอาณาจักรโรมัน ได้เขียนตำราสถาปัตยกรรมนามว่า De architectura ขึ้นมา ซึ่งถือเป็นตำราด้านสถาปัตยกรรมเพี…

    โดย ASACREW
  • Visit

    Studio Visit: ASWA

    เรื่อง: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ ภาพ: อนันตา ฐิตานัตต์ Architectural Studio of Work – Aholic (ASWA) สตูดิโอออกแบบขนาดเล็กที่พลางตัวกลืนไปกับธรรมชาติรอบๆ จนผู้ที่ผ่านไปมาย่าน ถนนพหลโยธิน ซอย 2 อาจไม่ทันสังเกตเห็น ภายในมีบรรยากาศการทำงานที่เต็มไปด้วยความอบอ…

    โดย ASACREW
  • Visit

    Chouifong Tea Cafe Phase II เมื่อแสงอาทิตย์ถูกสถาปนิกจับลงมาใช้ประโยชน์และสร้างอารมณ์ความรู้สึกในงานออกแบบ

    เรื่อง : ใจรัก จันทร์สิน ถนอมพงศ์สานต์ ภาพ : DOF Depth of Field งานออกแบบของคุณจีรเวช หงสกุล และทีมงาน IDIN Architects มักสร้างความรู้สึกเชื้อเชิญและเรียบเท่ได้ในคราวเดียวกัน อันเป็นคุณสมบัติที่ดีของสถาปนิกและการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ เป็นที่ทราบกัน…

    โดย ASACREW