ก่อนอื่นขอเกริ่นว่าฉันเลือกเรียน Construction and Real Estate Management (ConREM) ซึ่งเป็นคอร์สของหาวิทยาลัย HTW Berlin เปิดร่วมกับ Helsinki Metropolia จัดระบบการเรียนการสอนประเทศละ 1 ปี หลักสูตรรวม 2 ปี โดยเริ่มเทอม 1-2 ที่เฮลซิงกิในปีแรกและย้ายมาเรียนเทอม 3-4 ที่เบอร์ลินในปีถัดมา จากเดิมที่ HTW Berlin มีเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้หรือคณาจารย์กับทาง Helsinki Metropolia เท่านั้น
ถ้าพูดถึงภาพรวมของสาขา ConREM จะเน้นไปในด้าน Life Cycle Management, Real Estate Development, Construction and Real Estate Technology, Business and Management Science, International and Intercultural Collaboration, Renovation and Leadership Competence ซึ่งเป็นการเรียนที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการวางแผนและมีส่วนร่วมของการทำงานกลุ่มเพื่อเพิ่มทักษะในการปฎิสัมพันธ์ multi-culture ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับ การปรับความรู้เข้าสู่การปฏิบัติจากสถานที่จริง
ที่สุดคือการศึกษา
การมาเรียนในประเทศที่ได้รับการการันตีระบบการศึกษา ในระดับชั้นนำของโลกนั้น กระตุ้นความอยากทำความเข้าใจ ทุกสิ่งทุกอย่างของที่นี่ “เมืองเฮลซิงกิ ฟินแลนด์”
ตลอดระยะเวลา 1 ปี คำตอบที่ได้มาจากการเรียนรู้ประเทศนี้ ไมไ่ดทำให้เกิดความประหลาดใจใดๆ สำหรับมุมมองของสถาปัตย์คนหนึ่งที่พยายามทำความเข้าใจ ระบบระเบียบและความเป็นอยู่ของผู้คนที่นี่ที่ทุกอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดศักยภาพแก่ระบบที่สำคัญที่สุดของสังคมคือ “การศึกษา” ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนฟินนิชมีควาสุขและสะดวกสบาย อาจเพราะเมืองเฮลซิงกิไ่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก จำนวนประชากรทั้งประเทศยังน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯทั้งเมือง อีกทั้งรัฐบาลก็ให้การสนับสนุนการศึกษากับคนทุกคน ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่ที่สามารถเรียนในสายอาชีพที่ต้องการทำงานได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือทุกอย่างเรียนฟรี รวมไปถึงนักเรียนตา่งชาติที่เสียแค่ค่าธรรมเนียมและหลักสูตรภาษาอังกฤษ เพราะที่ฟินแลนด์สอนและสื่อสารกันด้วยภาษาฟินนิชเป็นภาษาหลัก แต่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะความมีรากฐานการศึกษาดีที่สุดในโลกนั้นได้สะท้อนให้เห็นได้จากเด็กทุกคน ประชากรทุกวัย สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และทุกคนมีอัธยาศัยไมตรียิ้มแย้มให้ผู้มาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ
เนื่องด้วยระบบการศึกษาของฟินแลนด์เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกระดับชั้น การมาเรียนปริญญาโทที่นี่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงได้เข้าใจรูปแบบการสอนที่เขาบอกว่ามีคุณภาพ ซึ่งคำว่า “มีคุณภาพ” นี้ไม่ใช่หลักสูตรที่ ทำให้เด็กเรียนเก่งหรือได้เกียรตินิยม แต่เป็นการกระตุ้นให้เด็กเล่นมากกว่าเรียน เพราะการเล่นคือการเรียนรู้ในรูปแบบหนึ่ง เรียนรู้จากการทำจริง สังเกตจากธรรมชาติรอบตัว เข้าใจจากความสนใจของตัวเองจริงๆ ไม่ได้ผ่านการบังคับ หรือยัดเยียดจนทำให้คุณภาพและความสุขของการเรียนถูกทำลายลงไป อีกทั้งคำว่ามาตรฐานสำหรับประเทศนี้ คือการมีอยู่จริง เพราะไมว่า่จะโรงเรียนใดหรือมหาวิทยาลัยใด ความเป็นมาตรฐานทางการสอนและการอำนวยสะดวกต่างๆ ของโรงเรียนมีค่าเท่าเทียมกัน และนี่คือประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก
ระบบที่ดีนำไปสู่เมืองที่ดี
การจัดการระบบผังเมืองและการคมนาคมต่างๆ ของเมืองเฮลซิงกิเป็นไปอย่างเรียบง่ายและเป็นระเบียบเรียบร้อย ทางคนเดิน ทางจักรยาน ทางรถราง ทางรถไฟ และทางรถยนต์แบ่งแยกชัดเจน รวมไปถึงการจัดสรรแบ่งพื้นที่ของเมืองให้เกิดเป็นย่าน เช่น ย่านชอปปิ้ง ย่านพิพิธภัณฑ์ ย่านการสร้างสรรค์ออกแบบและย่านที่อยู่อาศัยที่อยู่รอบนอกของเมือง ทำให้ระบบเมืองของเฮลซิงกิเป็นระบบและมีเอกลักษณ์แต่ละจุดที่ชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นสถาปัตยกรรมแทบทกุสถานที่ล้วนเน้นทำจากวัสดุไุม้ เพราะพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของฟินแลนด์เป็นป่าไม้สน สถาปัตยกรรมแต่ละแห่งจะแตกต่างกันด้วยวิธีการออกแบบ และรูปแบบการติดตั้ง องค์ประกอบของวัสดุไม้เข้ากับตัวอาคารนั้นๆ รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่นี่เป็นแบบเรียบง่าย เน้นพื้นที่การใช้งานร่วมกับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด
นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด
ฉันได้ศึกษาและสังเกตความเป็นไปรอบตัวภายในเมืองทั้งสถาปัตยกรรม บ้านเรือนและขนาดของเมือง เฮลซิงกิ นำมาปรับใช้กับบทเรียนภาคทฤษฎีที่เรียนในห้องเรียนทุกๆ วัน ตลอดหนึ่งปี เนื่องจากทกุอย่างที่นี่มีความแตกต่างจากสังคมไทย ที่ฟินแลนด์เริ่มนำเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์ BIM มาใช้ ทำใหเ้กิดความเขา้ใจร่วมกันในการทำงานทั้งวงการกอ่สร้างและอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งการได้ไปเยี่ยมชมโครงกาก่อสร้าง ทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อการอำนวยความสะดวกและลดข้อผิดพลาดต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้นการได้ดูแผนแม่บทการพัฒนาเฮลซิงกิทำให้เข้าใจการควบคุมความสูงของอาคาร ปัจจุบันในเมืองหลวงแห่งนี้ยังไม่มีตึกสูงขึ้นมาเลย เนื่องมาจากการแบ่งเขตเศรษฐกิจและย่านตา่งๆ การควบคุมพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวของเมือง รวมไปถึงอัตราส่วนของประชากรที่่ยังนับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดของพื้นที่ในแง่อสังหาริมทรัพย์
เมืองนี้จึงเป็นเมืองที่เพิ่งเริ่มต้นพัฒนาขยายพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกตา่งๆ อย่างเป็นระบบทำใหเ้ราสามารถสังเกตและเรียนรู้การเติบโตนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่า่งชาญฉลาด
เรื่องและภาพ :
พนินทร โชคประเสริฐถาวร
บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยศิลปากรที่ยังคงหลงรักและตื่นเต้นกับการดูงานสถาปัตยกรรมอยู่ทุกครั้ง แต่ด้วยความต้องการศึกษาสาขาที่เพิ่มเติมความรู้ในอีกศาสตร์เพื่อต่อยอดให้กับการทำงานด้านสถาปัตย์ จึงบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทด้าน Construction and Real Estate Management (ConREM) ซึ่งเป็นคอร์สของมหาวิทยาลัย HTW Berlin เปิดร่วมกับ Helsinki Metropolia ฉบับนี้เธอจะมาถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนหลักสูตรดังกล่าวในดินแดนสองประเทศ อย่างฟินแลนด์และเยอรมนี