The Commons Saladaeng

Update / 04 ก.พ. 2020

เรื่อง: ปวริศ คงทอง
ภาพ: Courtesy of Department of Architecture

หากจะเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง สถาปนิกก็คงเป็นเหมือนผู้กำกับที่จะกำหนดแนวทางและกำกับให้ภาพยนตร์เป็นไปตามแนวทางนั้น และภาพยนตร์บางเรื่องที่ได้รับความนิยมและการกล่าวถึงเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการประกาศว่าจะทำภาคต่อ ผู้ชมก็ย่อมมีความคาดหวังว่าภาคต่อนั้นจะออกมาดีมากกว่าหรือไม่ต่างจากภาคแรก

The Commons Saladaeng Perspective

สถาปัตยกรรมเองก็เช่นกัน นี่เป็นมุมมองส่วนหนึ่งของคุณอมตะ หลูไพบูลย์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้งบริษัท Department of Architecture ซึ่งพูดถึงโครงการเดอะคอมมอนศาลาแดง โครงการที่มีความต่อเนื่องมาจากโครงการเดอะคอมมอนทองหล่อ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามทั้งในแง่ธุรกิจและแง่การออกแบบที่ได้รับรางวัลต่างๆ เป็นเครื่องการันตี

The Commons Saladaeng Perspective

เมื่อสถาปนิกมองโครงการที่ต่อเนื่องกันนี้เป็นภาพยนตร์ภาคต่อแล้ว องค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นประสบความสำเร็จได้เหมือนภาคแรกก็ถูกตีความแล้วนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม ในมุมมองของคุณอมตะ สิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์ภาคต่อประสบความสำเร็จได้มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน นั่นคือ ตัวละครเดิมที่ผ่านช่วงเวลาและเติบโตขึ้น ตัวละครใหม่ที่มีความสำคัญและมีความน่าสนใจที่จะดึงผู้ชมเข้ามาได้ และสุดท้ายคือองค์ประกอบรองๆ ที่ช่วยให้เส้นเรื่องดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างที่ถูกถอดออกมานี้คือแนวคิดหลักที่สถาปนิกจะใช้ในการออกแบบโครงการเดอะคอมมอนศาลาแดงให้ออกมาดีไม่น้อยไปกว่าโครงการเดอะคอมมอนทองหล่อ

ภาพขณะก่อสร้างของ The Commons Saladaeng

จากการวิเคราะห์เพื่อหาองค์ประกอบแรกคือตัวละครเดิม ที่ทำให้โครงการเดอะคอมมอนทองหล่อประสบความสำเร็จในแง่ของการออกแบบ สิ่งนั้นคือการออกแบบโดยใช้พื้นที่กึ่งในร่มกึ่งกลางแจ้ง และระบบการระบายอากาศตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ในตัวอาคารของเดอะคอมมอนศาลาแดงเองก็มีการนำพื้นที่กึ่งกลางแจ้งนี้มาใช้เช่นกัน และเพื่อให้เกิดสภาวะสบายในพื้นที่ส่วนนี้ Industrial Fan จึงถูกติดตั้งเอาไว้เพื่อช่วยให้อากาศเกิดการไหลเวียนอย่างต่อเนื่อง

The Commons Saladaeng Perspective

ตัวละครต่อไปคือตัวละครใหม่ คือรูปลักษณ์อาคารที่สถาปนิกตั้งใจทิ้งรูปลักษณ์ของเดอะคอมมอนทองหล่อไปทั้งหมด เพื่อสร้างภาพจำที่เป็นเอกลักษณ์ของเดอะคอมมอนศาลาแดงขึ้นใหม่ จากแนวคิดที่ต้องการให้ความสำคัญกับละแวกรอบๆ ของผู้พัฒนาโครงการเดอะคอมมอน สถาปนิกพยายามหาความเป็นมาของพื้นที่ศาลาแดง และทราบว่าเดิมชื่อศาลาแดงมาจากศาลารอรถไฟขนาดเล็กที่มีหลังคาจั่วสีแดงในอดีต ศาลารอรถไฟนี้จึงกลายมาเป็นต้นแบบในการสร้างรูปลักษณ์ของเดอะคอมมอนศาลาแดง สถาปนิกตั้งโจทย์ 2 อย่างคือ สีหลักของอาคารต้องเป็นสีแดง และหลังคาต้องเป็นหลังคาจั่วขนาดเล็ก สอดคล้องกับรูปร่างอาคารในย่านศาลาแดงสมัยก่อน

The Commons Saladaeng Perspective

องค์ประกอบสุดท้ายที่ทำให้เส้นเรื่องของภาพยนตร์ดำเนินไปได้ เปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมก็คือการใช้งานที่หลากหลายและเพิ่มความน่าสนใจให้กับโครงการ ในกรณีของเดอะคอมมอนทองหล่อคือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เข้ากับสถาปัตยกรรม และในโครงการเดอะคอมมอนศาลาแดง สถาปนิกเลือกที่จะคิดกลับกันโดยออกแบบสถาปัตยกรรมที่จะปรับตัวเข้ากับกิจกรรมที่หลากหลายได้ พาเลทไม้ราคาไม่แพง ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้ โดยการออกแบบโมดูลของพาเลทที่จะปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ ได้ ทั้งในวันทั่วไป หรือในกิจกรรมพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น การจัดตลาดนัด การแสดงดนตรีขนาดเล็ก ไปจนถึง International Jazz Festival และ The Common Carnival หรือรองรับกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่จำกัด

via GIPHY

สุดท้ายแล้วโครงการเดอะคอมมอนศาลาแดงจะประสบความสำเร็จได้อย่างเดอะคอมมอนทองหล่อหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าจับตากันต่อไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกแบบผ่านมุมมองที่ให้โครงการนี้เป็นภาพยนตร์ภาคต่อซึ่งมีทั้งสามองค์ประกอบข้างต้น ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจและน่าติดตามอยู่มากเลยทีเดียว

Project Information

ผู้ออกแบบ Department of Architecture
เจ้าของโครงการ The Commons
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
สถานะ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
พื้นที่โครงการ

โดย ASACREW
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Update

    Ratchawithi Island Victory Monument Bus Transit Center

    ประกาศผลการตัดสินประกวดแนวความคิดการออกแบบ “Ratchawithi Island Victory Monument Bus Transit Center” สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมการประกวด RATCHAWITHI ISLAND VICTORY MONUMENT BUS TRANSIT CENTER …

    โดย ASACREW
  • Update

    Walk & Talk with an architects #2 at AUBE Wedding Venue

    บ่ายวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ASA CREW จัดกิจกรรม Walk & Talk with an architects ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เปิดโอกาสพิเศษให้สมาชิกสมาคมฯ 15 ท่าน ได้มาสัมผัสประสบการณ์จริงในสถาปัตยกรรมสำหรับพิธีการแต่งงานโดยเฉพาะ อย่าง AUBE Wedding Venue พร้…

    โดย ASACREW
  • Update

    งานสถาปนิกทักษิณ’63 – “อาษา-มาหา-นคร”

    เรื่อง: กรรมาธิการสถาปนิกทักษิน ภาพ: กรรมาธิการสถาปนิกทักษิน การจัดงานสถาปนิกทักษิณ 63 ภายใต้ชื่อ “อาษา-มาหา-นคร” ได้จัดขึ้นในช่วง 28 ก.พ.-1 มี.ค. 2563 ณ ดินแดนมรดกโลกนครศรีธรรมราช การนำนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลก (UNESCO) ถือเป็นความภูมิใจของกลุ่มสถาปนิ…

    โดย ASACREW