REWIND TO THE PAST AT BANGKOKIAN MUSEUM ย้อนเวลาหาอดีตที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

Visit / 28 ต.ค. 2018

ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี2550 จากการที่มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทําภาพนิ่งก็เล่าย้ำอีกครั้งว่า ที่นี่ดีจริงๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็นว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทําให้หาเวลามาดูไม่ได้สักทีจนเมื่อมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific Awards จึงมีโอกาสเข้ามาพิสูจน์ด้วยตาตนเอง หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาร่วม 5 ปี

สิ่งที่เห็นไม่ได้ทําให้ผิดหวังไปจากที่ได้ยินได้ฟังมาไม่ว่าจะเป็นทําเลที่ตั้งที่เคยเข้าออกได้จากทางคลองหน้าบ้าน ซึ่งแปรสภาพมาเป็นถนนในภายหลัง ผนวกความร่มรื่นด้วยพรรณไม้พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป ตลอดจนตัวเรือนหลักทั้ง 3 หลังที่มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมตามสมัยนิยม ที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนเมืองในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดูสงบและสบายในสภาวะอากาศเมืองร้อนเช่นนี้

ส่วนที่เกินจากความคาดหมายคือประวัติความเป็นมาของเรือนหลังเล็กที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวแทนของชาวบางกอกในยุคนั้นเนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่มีคนอย่างน้อย 3 ชั่วคน และ 3 เชื้อชาติได้มาใช้ชีวิตผูกพันกัน ณ อาคารเหล่านี้ โดยมีสังคมเมืองบางกอกยุครัตนโกสินทร์เป็นฉากหลัง

นางอิน ตันบุ้นเต็ก คุณยายของเจ้าของเรือนมีเชื้อสายจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากทํามาหากินอยู่ที่เมืองสยามตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนนางสอาง สุรวดีผู้เป็นมารดาได้                แต่งงานครั้งแรกกับนายแพทย์ฟรานซีส คริสเตียน ศัลยแพทย์ชาวอินเดียที่สําเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ โดยพบกันครั้งแรกที่ปีนัง แล้วติดตามสามีมาสร้างครอบครัวที่บางกอก เสียดายที่หมอฟรานซีสอายุสั้นจนไม่ได้เปิดกิจการตามที่ตั้งใจ ทิ้งไว้แต่เพียงอาคารที่จัดสร้างเพื่อเตรียมทําคลินิก และเครื่องไม้เครื่องมือแพทย์ตามยุคสมัยนั้นไว้เป็นอนุสรณ์รวมถึง รศ.วราพร สุรวดีซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ก็มีชีวิตผูกพันกับสถานที่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

อาคารทั้งหมดที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้ประกอบด้วยเรือนไม้2ชั้นหลังเดิม 1 หลัง จัดแสดงเครื่องเรือนและวิถีชีวิตของครอบครัวในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหลัก ส่วนเรือนไม้2 ชั้นด้านหลัง เป็นคลินิกเดิมของหมอฟรานซีสที่รื้อย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆ ปัจจุบันจัดแสดงประวัติและรูปหล่อโลหะของคุณหมอ จากต้นแบบฝีมือปั้นของศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีตลอดจนหนังสือและอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สุดท้ายคืออาคารแถวครึ่งตึกครึ่งไม้อีก1 หลังที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และของสะสมส่วนตัวของครอบครัวสุรวดี

ทุกอาคารได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีตามรูปแบบเดิมเมื่อแรกสร้าง แม้จะไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศในบางอาคาร แต่อาศัยร่มไม้ที่ครึ้มอยู่โดยรอบ ก็ช่วยให้สามารถเดินชมได้ด้วยความเพลิดเพลินแม้ในวันที่อากาศอบอ้าวชวนให้คิดถึงความสบายในยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

เมื่อ พ.ศ.2555 สมาคมสถาปนิกสยามฯ มีโอกาสได้นําสถาปนิกและอาสาสมัครเข้าไปช่วยสํารวจรังวัดอาคารในพิพิธภัณฑ์ในโครงการ ASA VERNADOC 2012โดยได้จัดแสดงนิทรรศการและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในหนังสือVERNADOC Vol.1:Thailandออกสู่สาธารณชน ทําให้พิพิธภัณฑ์เป็นที่รู้จักและถูกจดจําผ่านภาพลายเส้นที่งดงาม

โดย asa
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Visit

    VARIVANA RESORT รีสอร์ตชายเขาที่คืนความสงบให้ชายหาด

    เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: -.- เกาะพะงันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในภาคใต้ ด้วยสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นเกาะในทะเลอ่าวไทยและการเข้าถึงด้วยเรือโดยสารที่ไม่ยากนัก ส่งผลให้เกาะพะงันมีอาคารที่พักประเภทโรงแรมและรีสอร์ทเกิดขึ้นมากมายเพื่อตอบสนอง…

    โดย ASACREW
  • Visit

    @ Saima Park & Market

    เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: Courtesy of Office AT At Saima Market เป็นโครงการอาคารเพื่อการพาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ย่านไทรม้า จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นผลงานการออกแบบจากบริษัทสถาปนิก Office AT ที่มีความพิเศษกว่าอาคารพาณิชย์ทั่วไปคือการแบ่งพื้นที่โครงการส่วนหนึ่…

    โดย ASACREW
  • Visit

    Sattrapirom Meditation Center สถานปฏิบัติธรรมศรัทธาภิรมย์

    เรื่อง: สาโรช พระวงค์ ภาพ: Xaroj Photographic Atelier สถาปัตยกรรมพุทธศาสนาในประเทศไทยส่วนใหญ่มักมีรูปแบบประเพณีนิยม แต่หากลองดูวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาในช่วงรัตนโกสินทร์แล้ว จะพบได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย และมีวงจรที่นิยมย้อนกลับไปใช้ร…

    โดย ASACREW