งานสถาปนิกทักษิณ’63 – “อาษา-มาหา-นคร”

Update / 06 เม.ย. 2020

เรื่อง: กรรมาธิการสถาปนิกทักษิน
ภาพ: กรรมาธิการสถาปนิกทักษิน

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

การจัดงานสถาปนิกทักษิณ 63 ภายใต้ชื่อ “อาษา-มาหา-นคร” ได้จัดขึ้นในช่วง 28 ก.พ.-1 มี.ค. 2563 ณ ดินแดนมรดกโลกนครศรีธรรมราช การนำนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลก (UNESCO) ถือเป็นความภูมิใจของกลุ่มสถาปนิก และชาวนครศรีธรรมราชที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในการสร้างสรรค์ และผลักดันแปลงร่างเติมเมือง ผลักดันนครแห่งอารยธรรมแห่งนี้ให้เป็นที่รู้จักต่อนานาประเทศ สัญลักษณ์หลักของงานสถาปนิกทักษิณ 63 “อาษา-มาหา-นคร” คือพระบรมธาตุเจดีย์ และสีหลักของงานคือ สีทองแดง ซึ่งมาจากความหมายของอาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

งาน อาษา-มาหา-นคร มีแนวคิดในการเปิดเมืองต้อนรับแขกผู้มาเยือน ให้ได้เรียนรู้ถึงความเป็นตัวตนของนครแห่งอารยธรรมอันยาวนานที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราช ให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความงามทางสถาปัตยกรรม ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สร้างบ้านแปลงเมือง เป็นต้น ภายในงานจะมีการเปิดนิทรรศการของด้านสถาปัตยกรรม ด้านวิชาการ สินค้าวัสดุก่อสร้าง และยังมีการจัดแสดงในส่วนของการสร้างสรรค์ของเมืองในหลาย ๆ ด้าน

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

อย่างเช่น นิทรรศการพระมหาธาตุวรมหาวิหารสู่มรดกโลก การพัฒนาเมืองเก่า Urban Sketcher การประกวดภาพถ่าย มุมมอง..เมืองเก่านคร เมืองเก่า…มุมที่เราภูมิใจ การประกวดแบบ ASA Ma-Ha Nakorn Contest ในระดับปวช. หัวข้อการออกแบบ Facade หน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ระดับปวส./ปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-2 หัวข้อการออกแบบหอศิลป์แห่งเมืองนคร และระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3-5 หัวข้อการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเมืองนคร รวมถึงการบรรยายในหัวข้อ เส้นทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สู่การเป็นมรดกโลก และบทบาทของสถาปนิกต่อการพัฒนาเมือง เป็นต้น

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”
งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

บรรยากาศของพิธีเปิดงานสถาปนิกทักษิณ 63 มีการตั้งขบวนแห่จากหน้าศาลาประดู่หก ภายในกระบวนแห่ประกอบไปด้วยคณะนาฎศิลป์ สถาปนิกและแขกผู้มีเกียรติ ร่วมจัดขบวนเดินแห่มามายังสวนศรีธรรมโศกราช โดยได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกสมาคมสถาปนิกทักษิณและแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่านได้เดินทางมาร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ โดยมีการแสดงพื้นเมืองจากวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช ซึ่งสื่อได้ถึงอัตลักษณ์และความเป็นมาของเมืองนครศรีธรรมราชเมืองแห่งอารยธรรมได้อย่างงดงามและเป็นที่ประทับใจของแขกผู้มาร่วมงานอย่างยิ่ง

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

ในส่วนของกิจกรรมทัศนศึกษาได้แบ่งเป็น 2 เส้นทางด้วยกัน ได้แก่ กิจกรรมทัศนศึกษา ASA MA-HA PAKPANANG คณะผู้ศึกษาดูงานจะนั่งเรือล่องแม่น้ำปากพนัง และเที่ยวตลาดชมเมือง เพื่อเรียนรู้คุณค่าความสำคัญของเมืองปากพนังในฐานะที่เป็นเมืองท่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต และกิจกรรมทัศนศึกษาเมืองเก่า “นั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์” ASA MA-HA HERITAGE เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเมืองแต่อดีตจากพิพิธภัณฑ์เมืองซึ่งมีการจัดแสดง เรื่องราวทางประวัติความเป็นมาของเมืองลิกอร์ ในรูปแบบภาพถ่าย ภาพจำลองเหตุการณ์ การบรรยาย และสื่อวีดีทัศน์ จากนั้นแวะเยี่ยมชมแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามจุดต่างๆ และเรือนโบราณที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

รวมถึงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเส้นทางเมือง และเยี่ยมชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นจุดสุดท้ายที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาขององค์พระประธานสมัยสุโขทัยในพระวิหารหลวง กิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุ เยี่ยมชมวิหารม้า พิพิธภัณฑ์วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร วิหารพระแอด ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและมีความโดดเด่นในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง

เส้นทางสู่มรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

พระบรมธาตุ สู่มรดกโลก

“มรดกทางวัฒนธรรม” นครศรีธรรมราชมีคุณสมบัติโดดเด่นตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) การสิ่งที่มีอิทธิพล สิ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกที่ทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม 2) การเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ 3) การมีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ขึ้นบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก (Tentative List) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2556 ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีความโดดเด่นตามเกณฑ์มรดกโลกอย่างไรตำนานพระบรมธาตุได้กล่าวถึงเจ้าชายทนทกุมารกับเจ้าหญิงเหมชาลานำพระเขี้ยวแก้วไปลังกา แต่เรือแตกลอยมาติดฝั่งหาดทรายแก้ว จึงได้ฝังซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในหาดทราย เมื่ออัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปลังกาสำเร็จแล้ว ได้นำพระธาตุส่วนหนึ่งกลับมายังจุดที่เคยซ่อนพระเขี้ยวแก้ว และสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ทับที่นั้นในราว พ.ศ. 854 ซึ่งต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ได้โปรดฯให้สร้างพระสถูปขนาดใหญ่ครอบทับพระบรมธาตุเจดีย์ในราว พ.ศ. 1093 โดยอายุที่ปรากฏตามตำนานมีความสอดคล้องกับการตรวจอายุของอิฐในทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminascene, TL) พบว่าอิฐที่ฐานองค์พระบรมธาตุมีอายุราว 1119 บวกลบ 67 ปี และยังเป็นตัวแทนการเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนจากอดีตตราบจนทุกวันนี้

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”
โดย ASACREW
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Update

    Ratchawithi Island Victory Monument Bus Transit Center

    ประกาศผลการตัดสินประกวดแนวความคิดการออกแบบ “Ratchawithi Island Victory Monument Bus Transit Center” สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมการประกวด RATCHAWITHI ISLAND VICTORY MONUMENT BUS TRANSIT CENTER …

    โดย ASACREW
  • Update

    ASA Real Estate Awards 2019

    ASA Real Estate Forum 2019 เปิดเวทีให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบเมืองยุคใหม่ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือพัฒนาเมืองแห่งอนาคตที่มีความยั่งยืนและเป็น “เมืองเพื่อทุกคน (Cities for All)” อย่างแท้จริง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในวงก…

    โดย ASACREW
  • Update

    New Waves of Thai Architects คลื่นระลอกใหม่จากสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย

    เรื่อง: Jenchieh Hung และ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี แปล: Jiaqi Han ภาพ: ตามระบุใต้ภาพ เมื่อวาน คืนวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ราชบัณฑิตยสถานด้านศิลปะแห่งสหราชอาณาจักร หรือ Royal Academy of Arts ประกาศอย่างเป็นทางการว่าสถาปนิกไทย ผศ. บุญเสริม เปรมธา…

    โดย ASACREW