ศิลปะสร้างสุข ในแบบ ชลิต นาคพะวัน

Talk / 28 ต.ค. 2018

ชลิต นาคพะวัน ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง อารมรณ์ดีที่มีลายเส้นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เทคนิคแป้งทัลคัมและยางพาราใน      โทนสีสดใสจนได้ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากแต่ในการสอนศิลปะชลิตกลับไม่ได้ให้ผู้เรียนต้องสร้างงานตามลายเส้นของเขา ในทางกลับกันเขาได้ให้ผู้เรียนได้ค้นหาตัวตนที่แท้จริง แล้วถ่ายทอดผ่านเส้น สี ที่แปรงลวดลาย จนกลายเป็นงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะตนที่แตกต่างออกไป ไม่เพียงเท่านี้ ในอีกด้านเขายังเป็นเสมือนจิตแพทย์ ผู้ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการดึงความคิด ความรู้สึกปมทั้งด้านดีและร้ายของผู้เรียนออกมา แล้วค่อยๆ คลี่คลายปมนั้นด้วยการพูดคุยและใช้ศิลปะในการบำบัด

 

“การสอนศิลปะคือการดึงคาแรกเตอร์หรือตัวตนของผู้เรียนออกมา ไม่ใช่ให้ผู้เรียนทำตามผู้สอน คาแรกเตอร์ คือประสบการณ์ สิ่งที่ชอบ จิตใต้สำนึก ฯลฯ ซึ่งความเป็นตัวตนที่ดีสามารถสร้างสิ่งที่ดีและมีความจริงแท้ได้ ผมผสมผสานความรู้บวกศิลปะ ใช้ความงามทางศิลปะ ทัศนศิลป์ เพื่อสื่อสารกับผู้คน สังคม เวลาสอนศิลปะผมจะให้หัวข้อในการวาดภาพ เมื่อวาดเสร็จก็จะให้ทุกคนอธิบายภาพของตัวเองและถามความคิดเห็นของเพื่อนๆด้วย ซึ่งในภาพแต่ละภาพจะสะท้อนปมบางอย่างออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ความสุข ความทุกข์ ความรัก  ความโกรธ ความเกลียด ความห่วงใย โดยจะพบปมด้านไม่ดีมากกว่า ผมก็จะยกตัวอย่างจากการอ่านบ้าง ประสบการณ์ของตัวเองบ้างมาพูดคุย แลกเปลี่ยนกันแล้วค่อยๆ บอก สอน ละลาย คลี่คลายปมไม่ดีของเขา พร้อมทั้งสร้างเสริมกำลังใจให้เขาทำในสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์”

 

จากการสอนศิลปะ และทำงานด้านจิตอาสามามากมาย คือความสุขใจทั้งผู้สอนและผู้เรียนหลายเคสได้รับการบำบัดด้วยศิลปะในวิธีที่ชลิตนำมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างได้ผล

“ศิลปะเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ผมใช้ศิลปะให้เป็นภาษาหนึ่ง งานศิลปะอ่อนโยนเพราะมีความงาม มีสี มีเทคนิคและวัสดุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวยั่วยวนและจะขุดรากถอนโคนความรู้สึก ความคับข้องใจของเขาออกมาได้ เครื่องมือนี้สำคัญมากนะ ล่าสุดผมให้ผูกพู่กันบนปลายไม้ยาวๆ แล้ววาดรูปที่อยู่ตรงหน้า รู้มั้ยว่าเครื่องมือนี้ขุดรากถอนโคนหรือให้อะไรกับคนที่ทำบ้าง ให้สมาธิ จิตใจที่มุ่งมั่น คือเวลาจะเขียนรูปด้วยไม้ยาวๆ ต้องมีสมาธิมุ่งมั่นอยู่ที่ปลายไม้ ใจต้องนิ่ง สงบ สั่งงานมาที่มือแบบไม่ฟุ้งซ่าน กล้ามเนื้อมัดเล็กจะทำงานอย่างแข็งแรง วาดรูปออกมาได้อย่างสวยงาม

สำหรับคนที่มีอารมณ์ร้อน รุนแรง สมาธิสั้น ก็สามารถนำพามาเป็นงานศิลปะได้ อย่างคนที่ใจร้อนผมก็จะมีเทคนิคแบบช้าๆ ให้เขาทำเพื่อให้ใจเย็นลง ในขณะที่ถ้าคนช้า ผมก็จะนำเทคนิคเร็วๆ ให้เขาทำเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น แอคทีฟขึ้น

เคสหนึ่งที่เห็นชัดเจนมากคือ มีผู้เรียนคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้ามาเรียนศิลปะกับผมได้สักพัก ผมก็ชวนเขาไปเป็นผู้ช่วยตอนมีเวิร์กช็อปศิลปะให้คนพิการ หน้าที่ของเขาคือช่วยเข็นรถคนพิการหญิงคนหนึ่งในการทำกิจวัตรต่างๆที่คนพิการทำไม่ได้ พอตกเย็นก็พาไปกินข้าว ผมก็ถามเขาว่าเป็นยังไงบ้าง เขาก็ตอบว่า ‘ครูชลิตรู้มั้ยว่าวันนี้หนูมีความสุขมาก พวกเขามีความทุกข์กว่าหนูมากมายมหาศาล แต่พวกเขากลับมีความสุข บางคนขับถ่ายทางสายยางก็ยังหัวเราะได้ ในขณะที่ความทุกข์ของหนูน้อยกว่าเขาแบบเทียบกันไม่ได้ หนูจะเลิกทุกข์แล้ว วันนี้หนูมีความสุขมากปัจจุบันน้องคนนี้กลายเป็นคนที่สนุกสนานร่าเริง หายจากโรคซึมเศร้าแล้ว

“ผมว่าศิลปะคือธรรมชาติ คือธรรมะ เป็นเครื่องมือที่ดีในการเชื่อมโยงถึงคนทุกคน ทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ บนโลกใบนี้”

โดย asa
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Talk

    François Montocchio and Architecture for Worship

    เรื่อง: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ ภาพ: ชนิภา เต็มพร้อม และภาพส่วนตัวของฟรองซัวส์ มองโตเคียว ฟรองซัวส์ มองโตเคียว[1] (François Montocchio) เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เป็นบุตรชายของเอ็ดการ์ มองโตเคียว (Edgar Montocchio) (ลูกครึ่งฝรั่งเศส-เวียดนาม) ซึ…

    โดย ASACREW
  • Talk

    ASA EXPO 2020: Refocus Heritage in Details นิทรรศการที่เต็มไปด้วยคำถามเกี่ยวกับการมองมรดกทางวัฒนธรรมแบบใหม่

    เรื่อง: ASA CREW Team ภาพ: ไลลา ตาเฮ หนึ่งในสิ่งที่หลายคนตั้งตารอสำหรับงานสถาปนิก ซึ่งจัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ฯ ทุกปีนั้น ก็คือการออกแบบนิทรรศการซึ่งมีส่วนสำคัญในการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่แล้วให้โดดเด่นยิ่งขึ้นไปอีก งานสถาปนิกในปี 2563 ครั้งนี้ …

    โดย ASACREW
  • Talk

    One Day with an Architect: พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล

    เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: PLOT BAND “การที่เราไปเล่นดนตรีหรือว่าไปทำอย่างอื่นทำให้เราได้เอาตัวเองออกจากความหมกมุ่นของงานสถาปนิกชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งพอเรากลับมามองงานที่ทำอยู่อีกรอบ เราจะได้มุมมองที่ดีขึ้นและเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองชัดเจนขึ้น” วิทย์-พลวิทย์…

    โดย ASACREW