Round Table Talk: Sook Siam

Talk / 31 ต.ค. 2019

อีกหนึ่งโครงการตลาดที่น่าสนใจในช่วงนี้คือพื้นที่ตลาดที่ถูกจับมาไว้ในศูนย์การค้าอย่างโครงการสุขสยาม โครงการตลาดที่นำเอาสินค้าตัวแทนจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยมาจัดไว้รวมกันในโครงการ ICONSIAM และในครั้งนี้ทีมงาน ASA CREW ก็ได้โอกาสพูดคุยกับคุณโอ๊ต-ชยะพงส์ นะวิโรจน์ ผู้ที่เป็นคนดูแลการสร้างโครงการสุขสยาม และคุณอัจฉริยะ โรจนภิรมย์ สถาปนิกจาก Urban Architects ผู้ออกแบบ ICONSIAM

บรรยากาศการพูดคุยในโครงการสุขสยาม

ASA CREW: จากมุมเจ้าของโครงการและมุมมองของผู้ออกแบบ ตอนนี้แนวโน้มเรื่องของการออกแบบเพื่อการซื้อขาย ตลาด ห้างร้าน ต่างกับเมื่อก่อนอย่างไรบ้างคะ

ชยะพงส์: โจทย์แต่แรกคือ “สุขสยาม” ต้องการรวมความเป็นไทยจากทั้งประเทศ เราเลยมองว่าเราน่าจะต้องสร้าง “เมือง” ขึ้นมาเมืองหนึ่ง ที่จะให้ประสบการณ์ของทั้งประเทศได้ โดยการทำเป็น retail format ของการให้เช่าทั่วไปไม่สามารถให้บรรยากาศของประเทศไทยทั้งสี่ภาคได้นะครับ เลยได้มีการปรึกษากับทางสถาปนิกเพื่อวางผังว่าอยากให้ตรงนี้เป็นที่เพิ่ม experience ของการเดิน ทำหน้าที่เป็น destination คือเราไม่ได้บอกว่าตรงนี้เป็นศูนย์การค้า แต่ว่ามันต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นประสบการณ์ของการท่องเที่ยวให้ครบ 4 ภาค อันนี้คือโจทย์ตั้งต้นเพื่อจะให้คนมาที่นี่ แตกต่างกับการทำตลาดหรือห้างทั่วไป เราอยากทำให้คนมีความสุข เหมือนเราไปเที่ยวเป็น theme destination เช่น Disneyland อย่างนี้นะครับ ผู้ซื้อเค้าไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องของการค้าขาย แต่ว่ามันเป็นประสบการณ์ เช่น เค้าอยากได้หมวกอันนี้ อยากกินไอศกรีมอันนี้ ตรงนี้มีธีมมิกกี้เม้าส์ สักพักก็มีพาเหรดมา ทำให้คนอยากจะได้นี่ อยากจะได้โน่น ถ้าแปลมาเป็นของเรา อย่างเช่น ภาคกลางจะมีเสียงของตลาดน้ำ สามารถมาเดินชอปปิ้ง ถ่ายรูป มีขนมถ้วย ฝอยทอง ขนมทั้งหลายจัดเรียงตามเรือ และมีผลไม้ภาคกลางจัดโซนเป็น Fruit Paradise ขึ้นมา เราพยายามสร้างประสบการณ์ของภาคกลางที่ทำให้คนหลงใหลในการเดิน รวมถึงอยากให้เขาหลงนิดหนึ่งนะครับ ไม่อยากให้เดินแล้วรีบจบ อยากให้การเดินเป็นการสร้างประสบการณ์ของ journey แต่ละภาค โดยเราได้ collaborate ทั้ง Urban Architects และ Universal Studios ที่มาช่วยวาง layout ที่เป็น theme park ส่วนรายละเอียดของสถาปัตยกรรมไทย ทาง Urban Architects ได้ช่วยทำ research โดยพื้นที่ของแต่ละภาคไม่เหมือนกันสักหลังนะครับ

คุณโอ๊ต-ชยะพงส์ นะวิโรจน์ ผู้ดูแลการสร้างโครงการสุขสยาม

ASA CREW: ขอถามทางผู้ออกแบบบ้างค่ะ คุณอัจฉริยะมองว่าแนวโน้มการออกแบบต่างๆ เหล่านี้ ตอนนี้มันเป็นอย่างไรบ้างคะ

อัจฉริยะ: ในแง่ของผู้ออกแบบเราเข้าใจว่ามันไม่ใช่เรื่องของความสวยงามเพียงอย่างเดียว แน่นอนเรื่องของการออกแบบเพื่อการใช้สอยนั้น เราต้องเข้าใจอยู่แล้วในฐานะสถาปนิก เช่น การออกแบบพื้นที่ service พื้นที่ back of the house หรือ การวาง flow ของผู้คน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรกสุดเลยคือธุรกิจ เราต้องเข้าใจลูกค้า ผู้ลงทุน ผู้ประกอบการที่เป็นร้านค้า นอกจากนี้เราต้องเข้าใจสินค้า และพฤติกรรมของผู้บริโภค

ASA CREW: เฉพาะคนไทยในกรุงเทพฯ ที่อยู่ต่างพื้นที่ ต่างย่านกัน พฤติกรรมก็แตกต่างกันใช่ไหมคะ

อัจฉริยะ: ออกแบบให้ผู้คนฝั่งกรุงเทพฯ กับฝั่งธนบุรีมันก็ไม่เหมือนกันนะ ทั้งพฤติกรรมของการ shopping การทำงาน การอยู่อาศัย การคมนาคม นอกจากนี้สิ่งที่ทำขึ้นมาต้องแตกต่าง ผู้ประกอบการให้โจทย์มา เราก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าอย่างไรถึงจะเหมาะสม ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ถามว่ากรุงเทพฯเป็นแบบไหนเราก็ต้องไปตีโจทย์ สมมุติ Siam Center ติดรถไฟฟ้าใช่ไหมครับ เราก็ต้องคิดพฤติกรรมการ flow การเข้าถึงอย่างไรบ้าง จะให้มันเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหรือ Siam Paragon อย่างไรเป็นต้น

ASA CREW: มีลักษณะการออกแบบที่พบในห้าง 20-30 ปีก่อน แต่ตอนนี้มันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้วไหมคะ

อัจฉริยะ: ทุกอย่างในความเห็นผมนะครับ ผมว่าใช้ได้หมด แค่ว่าจะใช้อย่างไร เวลาเราพูดถึงเวลาซื้อ-ขาย มันมีแบบซื้อเพราะความจำเป็น ซื้อเพราะอารมณ์ แบบสาวๆ เห็นเครื่องสำอางไม่เคยคิดเลย ไม่ได้คิดมาจากบ้าน พอเห็นของใหม่รุ่นใหม่ขอแวะหน่อยนะ อันนี้เป็นอารมณ์ เราต้องสร้างอารมณ์ในทุกเรื่อง เราต้องเข้าใจพฤติกรรมคนซื้อ ในโพลที่เขาบอกนะครับว่าที่ใช้จริงคือ 20% แต่ 80% ที่เหลือไม่ใช้ แต่มีไว้เพื่อนานๆ จะใช้ที

คุณโอ๊ต-ชยะพงส์ นะวิโรจน์ ผู้ดูแลการสร้างโครงการสุขสยาม

ASA CREW: เดี๋ยวนี้คนชอบบอกว่า retail มันกำลังจะตายเหมือนกับคนไม่ออกมา shopping ตามห้างแล้ว ตรงนี้มันส่งผลกับการออกแบบพื้นที่สำหรับการซื้อขายอย่างไรบ้างไหมคะ

อัจฉริยะ: เป็นคำถามที่ดีเลยนะ ผมว่าการได้เดินเลือกซื้อสินค้ามันเป็นความสุขนะครับ ที่การซื้อออนไลน์ทดแทนไม่ได้ มันเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก หากย้อนกลับไปหนึ่งพันปีก็มีตลาดนะครับ ผมเชื่อว่าในอนาคตตลาดก็จะยังอยู่ ถึงแม้เราอาจย้ายไปดาวอังคาร ผมคิดว่าบนดาวอังคารก็น่าจะยังมีตลาด เพราะมันเป็นเรื่องของ human interaction เราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราไม่สามารถอยู่แต่กับหน้าจอนานๆ ได้ คนต้องการหาความสุข เรามีหน้าที่ deliver happiness ให้ผู้คนที่มารับรู้ experience ผ่านบรรยากาศของการซื้อขาย คุณคิดว่า online shopping มันจะทดแทนได้จริงๆ หรือในอนาคต คนรุ่นเก่าแบบผมเนี่ยมองว่า online มันน่าเบื่อ คือบางทีเรามาห้างเราไม่ได้ต้องการจะซื้อของอย่างเดียวถูกไหมครับ เรามาเพราะว่ามีเพื่อนมา เรามาสังสรรค์ เรามาพบปะ เรามาคุย เรามาแลกเปลี่ยน

ชยะพงส์: เราต้องปรับทุกวัน ว่าลูกค้าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แต่ละ season คนเดินมีความต้องการไม่เหมือนกัน วันแม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันลอยกระทง หรือวันปีใหม่ เราต้องปรับ content ให้ลงจังหวะนั้นๆ พอดี ให้ทันสถานการณ์ตลอดเวลา

อัจฉริยะ: ในประเด็นของตลาด ผมว่าสุขสยามก็เป็นต้นไอเดียหนึ่ง ปกติตลาดไม่ได้อยู่ในศูนย์การค้าใช่ไหมครับ ตลาดมักอยู่ริมน้ำบ้าง หรืออยู่แยกออกไปอย่างตลาดอ.ต.ก. เป็นต้น การออกแบบตลาดแบบที่เห็นในสุขสยามนี้ คุณอาจจะดูว่าง่ายนะ แต่จริงๆ การคิดเนื้อหานี่ยากมาก คุณคุยกับแม่ค้าไม่ใช่แค่ 200-300 คนนะครับ ต้องคุยกันเป็นพันๆ คนเลยครับ

ชยะพงส์: ผมนี่ทั้งประสาน ทั้งคุย ทั้งจีบให้แต่ละร้านมา ให้เค้านำสินค้าดีๆ มาวาง ซึ่งแต่ละคนก็ต้องจีบกันคนละแบบเลยนะครับ คนนี้ชอบอันนั้น คนนั้นชอบอันนี้

อัจฉริยะ: จริงๆ แล้ว ตลาดคือสิ่งที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของชุมชน เป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และอนาคตด้วย รัฐบาลควรมีนโยบายที่จะลงทุนเพื่อให้ตลาดต่างๆ ดีขึ้น มันจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศมากมาย ผมว่านักท่องเที่ยวที่ไปตลาดอ.ต.ก. ปีหนึ่งน่าจะ 20 ล้านคนได้นะ อย่างตลาดอัมพวา หรือตลาดโบราณอื่นๆ ก็มีเสน่ห์มาก เสน่ห์แบบนี้มันสร้างขึ้นมาไม่ได้ มันมีของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว เราจะทำอย่างไรถึงทำให้มันน่าสนใจขึ้นได้อีก

ASA CREW: แล้วเวลาคุณชยะพงส์ทำงานกับสถาปนิกเป็นอย่างไรบ้างคะ

ชยะพงส์: สถาปนิกที่ตอบโจทย์คือสถาปนิกที่ใจเย็น และตั้งใจฟังความต้องการของผู้ประกอบการ คือเขาอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับเรา 100% แต่เขาฟังเราแบบลึก ผมชอบตอนเขาค้านนะครับ เพราะผมคิดว่า two-way communication สำคัญมากตอนสร้างธุรกิจขึ้นมา ในการทำงานผมจะมี mood board ของสิ่งที่ผมต้องการมาก่อน ว่าเราอยากจะค้าขายลักษณะนี้ เราอยากได้ประสบการณ์แบบนี้ สถาปนิกคือคนที่ต่อยอดแปลงความต้องการต่างๆ ให้ออกมาเป็นงานออกแบบได้ อันนี้คือสถาปนิกที่ผมอยากจะทำงานด้วย

อัจฉริยะ: ผมว่าความเข้าใจกันเป็นเรื่องสำคัญมาก สถาปนิกต้องเข้าใจว่าผู้ประกอบการต้องการอะไร ผมมองผู้ประกอบการเป็นเหมือนดีไซน์เนอร์นะ เค้าอาจจะพาร์ทหนึ่งดีไซน์ธุรกิจ อีกพาร์ทนึงดีไซน์เรื่องของพื้นที่ เรื่องการใช้งาน เรื่อง operation จริงๆ แล้วเรื่อง operation มีความสำคัญที่สุด เพราะมันคือการประคับประคองให้โครงการมันไปต่อได้ ไม่ใช่ว่าสร้างเสร็จแล้ว operation มีปัญหาลำบากมากมาย เราในฐานะสถาปนิกเป็นเหมือนกับผู้ร่วมเดินทางไปกับผู้ประกอบการ

ชยะพงส์: อย่างเรื่องของการแก้ไขแบบ เราก็ต่างคนต่างแก้กันไปแก้กันมา จนสุดท้ายมันก็ออกมาอย่างที่เห็นนี้แหละครับ นี่คือเสน่ห์ เราอยากให้ตลาด crowded สมกับที่เป็นตลาด เพราะว่ามันมีเสน่ห์จากความชุลมุนนี่แหละครับ ผมใช้คำว่าเราตั้งใจสร้าง “organized disorder” ในความ organized ต้องมีความ disorder อยู่ในนั้น ถ้ามันไม่มีความวุ่นวาย ไม่มีความชุลมุนเลยนะครับ เสน่ห์มันจะอยู่ตรงไหน ถ้าทุกอย่างมันเรียบหมด แบบเป๊ะหมด นั่นคงไม่ใช่เสน่ห์ที่เราตั้งใจสร้าง

คุณอัจฉริยะ โรจนภิรมย์ สถาปนิกจาก Urban Architects ผู้ออกแบบ ICONSIAM

ASA CREW: จากที่คุยกัน เราแทบไม่ได้พูดกันเรื่องความงามเลย

คุณอัจฉริยะ: คือมันไม่ใช่และก็ใช่ definition ความงามคืออะไร ความงามของอาจารย์อาจมีส่วน overlap กับผม แต่โดยรวมอาจไม่เหมือนกันก็ได้ ความงามของคุณชยะพงส์ก็อีกแบบหนึ่ง ถูกไหม แค่เรา 3 คนก็มีความงาม 3 อย่าง แต่ลูกค้าที่มาที่นี่ จำนวนกว่าแสนคนต่อวันนะครับ ซึ่งก็คือแสนความงามนะ จะทำอย่างไร มันยากนะ เพราะฉะนั้น organized disorder ก็คือความงามที่เหมาะสมกับประเภทของร้านค้านั้นๆ

บรรยากาศการพูดคุยในโครงการสุขสยาม

ASA CREW: ทั้งสองท่านมองว่าในอนาคต พื้นที่ตลาดมันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

อัจฉริยะ: ตราบใดที่มนุษย์ยังมีโลภ โกรธ หลงอยู่ ตลาดก็ยังอยู่ตลอดไปนะครับ รูปแบบก็มันเป็นเรื่องของยุคสมัย แต่ content มันเหมือนเดิม คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เป็น social interaction เป็นเรื่องของ emotion

ชยะพงส์: คำว่าตลาดมันเหมือนคำว่าการค้าขายนะครับ ผมว่า มันมีชีวิต ถ้าตลาดที่ไม่มีการค้าขายมันก็ไม่มีชีวิต ที่นี่เราพยายามจะให้โครงการสุขสยามดูมีชีวิตกับการค้าขาย ในเสน่ห์ของแต่ละภาคที่แตกต่างกัน สำเนียงที่ช่วยสร้างบรรยากาศหรือสินค้าที่วางขาย คือโจทย์ที่เราต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ผมมองว่ายิ่งออนไลน์มาแรง ตลาดยิ่งน่าจะขายดี ในโลกออนไลน์ มันไม่มีชีวิต ขาด human touch และขาดปฏิสัมพันธ์กับคน ขณะเดียวกันสินค้า (ในโลกออนไลน์และออฟไลน์) ต้องแตกต่างกัน เพราะถ้าสินค้าไม่แตกต่าง คงอยู่ไม่ได้ งานฝีมือคือความแตกต่าง ของที่มีตำนานหรือ story ยิ่งแตกต่าง เหล่านี้คือจุดยืนของการคัดเลือกสินค้าของโครงการสุขสยามครับ ทำให้ไม่มีทางที่ออนไลน์

บรรยากาศการพูดคุยในโครงการสุขสยาม
โดย ASACREW
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Talk

    ลูกอีสานวันนี้ เรื่องเล่าก่อนจะเป็นนิทรรศการแรกที่ TCDC ขอนแก่น

    ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบขอนแก่น หรือ TCDC Khon Kaen สาขาแห่งที่สอง (สาขาแรกคือ TCDC Chiang Mai) จะเปิดให้บริการที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์แห่งภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยบริการหลัก 3 ด้าน คือ กา…

    โดย asa
  • Talk

    Special Interview: The President To Be ชนะ สัมพลัง

    เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: ชนิภา เต็มพร้อม เมื่อไม่นานมานี้สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมในสมัยหน้าเสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อย โดยผู้ที่ได้รับเลือกจากการลงคะแนนของสมาชิกสมาคมก็คือ “พี่โอ๋” หรือคุณชนะ สัมพลัง ผู้บริหารจากบริษัทสถาปนิ…

    โดย ASACREW
  • Talk

    ศิลปะสร้างสุข ในแบบ ชลิต นาคพะวัน

    ชลิต นาคพะวัน ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง อารมรณ์ดีที่มีลายเส้นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เทคนิคแป้งทัลคัมและยางพาราใน      โทนสีสดใสจนได้ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากแต่ในการสอนศิลปะชลิตกลับไม่ได้ให้ผ…

    โดย asa