งานสถาปนิกทักษิณ’63 – “อาษา-มาหา-นคร”

Update / 06 เม.ย. 2020

เรื่อง: กรรมาธิการสถาปนิกทักษิน
ภาพ: กรรมาธิการสถาปนิกทักษิน

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

การจัดงานสถาปนิกทักษิณ 63 ภายใต้ชื่อ “อาษา-มาหา-นคร” ได้จัดขึ้นในช่วง 28 ก.พ.-1 มี.ค. 2563 ณ ดินแดนมรดกโลกนครศรีธรรมราช การนำนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลก (UNESCO) ถือเป็นความภูมิใจของกลุ่มสถาปนิก และชาวนครศรีธรรมราชที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในการสร้างสรรค์ และผลักดันแปลงร่างเติมเมือง ผลักดันนครแห่งอารยธรรมแห่งนี้ให้เป็นที่รู้จักต่อนานาประเทศ สัญลักษณ์หลักของงานสถาปนิกทักษิณ 63 “อาษา-มาหา-นคร” คือพระบรมธาตุเจดีย์ และสีหลักของงานคือ สีทองแดง ซึ่งมาจากความหมายของอาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

งาน อาษา-มาหา-นคร มีแนวคิดในการเปิดเมืองต้อนรับแขกผู้มาเยือน ให้ได้เรียนรู้ถึงความเป็นตัวตนของนครแห่งอารยธรรมอันยาวนานที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราช ให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความงามทางสถาปัตยกรรม ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สร้างบ้านแปลงเมือง เป็นต้น ภายในงานจะมีการเปิดนิทรรศการของด้านสถาปัตยกรรม ด้านวิชาการ สินค้าวัสดุก่อสร้าง และยังมีการจัดแสดงในส่วนของการสร้างสรรค์ของเมืองในหลาย ๆ ด้าน

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

อย่างเช่น นิทรรศการพระมหาธาตุวรมหาวิหารสู่มรดกโลก การพัฒนาเมืองเก่า Urban Sketcher การประกวดภาพถ่าย มุมมอง..เมืองเก่านคร เมืองเก่า…มุมที่เราภูมิใจ การประกวดแบบ ASA Ma-Ha Nakorn Contest ในระดับปวช. หัวข้อการออกแบบ Facade หน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ระดับปวส./ปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-2 หัวข้อการออกแบบหอศิลป์แห่งเมืองนคร และระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3-5 หัวข้อการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเมืองนคร รวมถึงการบรรยายในหัวข้อ เส้นทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สู่การเป็นมรดกโลก และบทบาทของสถาปนิกต่อการพัฒนาเมือง เป็นต้น

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”
งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

บรรยากาศของพิธีเปิดงานสถาปนิกทักษิณ 63 มีการตั้งขบวนแห่จากหน้าศาลาประดู่หก ภายในกระบวนแห่ประกอบไปด้วยคณะนาฎศิลป์ สถาปนิกและแขกผู้มีเกียรติ ร่วมจัดขบวนเดินแห่มามายังสวนศรีธรรมโศกราช โดยได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกสมาคมสถาปนิกทักษิณและแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่านได้เดินทางมาร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ โดยมีการแสดงพื้นเมืองจากวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช ซึ่งสื่อได้ถึงอัตลักษณ์และความเป็นมาของเมืองนครศรีธรรมราชเมืองแห่งอารยธรรมได้อย่างงดงามและเป็นที่ประทับใจของแขกผู้มาร่วมงานอย่างยิ่ง

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

ในส่วนของกิจกรรมทัศนศึกษาได้แบ่งเป็น 2 เส้นทางด้วยกัน ได้แก่ กิจกรรมทัศนศึกษา ASA MA-HA PAKPANANG คณะผู้ศึกษาดูงานจะนั่งเรือล่องแม่น้ำปากพนัง และเที่ยวตลาดชมเมือง เพื่อเรียนรู้คุณค่าความสำคัญของเมืองปากพนังในฐานะที่เป็นเมืองท่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต และกิจกรรมทัศนศึกษาเมืองเก่า “นั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์” ASA MA-HA HERITAGE เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเมืองแต่อดีตจากพิพิธภัณฑ์เมืองซึ่งมีการจัดแสดง เรื่องราวทางประวัติความเป็นมาของเมืองลิกอร์ ในรูปแบบภาพถ่าย ภาพจำลองเหตุการณ์ การบรรยาย และสื่อวีดีทัศน์ จากนั้นแวะเยี่ยมชมแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามจุดต่างๆ และเรือนโบราณที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”

รวมถึงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเส้นทางเมือง และเยี่ยมชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นจุดสุดท้ายที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาขององค์พระประธานสมัยสุโขทัยในพระวิหารหลวง กิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุ เยี่ยมชมวิหารม้า พิพิธภัณฑ์วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร วิหารพระแอด ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและมีความโดดเด่นในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง

เส้นทางสู่มรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

พระบรมธาตุ สู่มรดกโลก

“มรดกทางวัฒนธรรม” นครศรีธรรมราชมีคุณสมบัติโดดเด่นตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) การสิ่งที่มีอิทธิพล สิ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกที่ทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม 2) การเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ 3) การมีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ขึ้นบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก (Tentative List) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2556 ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีความโดดเด่นตามเกณฑ์มรดกโลกอย่างไรตำนานพระบรมธาตุได้กล่าวถึงเจ้าชายทนทกุมารกับเจ้าหญิงเหมชาลานำพระเขี้ยวแก้วไปลังกา แต่เรือแตกลอยมาติดฝั่งหาดทรายแก้ว จึงได้ฝังซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในหาดทราย เมื่ออัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปลังกาสำเร็จแล้ว ได้นำพระธาตุส่วนหนึ่งกลับมายังจุดที่เคยซ่อนพระเขี้ยวแก้ว และสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ทับที่นั้นในราว พ.ศ. 854 ซึ่งต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ได้โปรดฯให้สร้างพระสถูปขนาดใหญ่ครอบทับพระบรมธาตุเจดีย์ในราว พ.ศ. 1093 โดยอายุที่ปรากฏตามตำนานมีความสอดคล้องกับการตรวจอายุของอิฐในทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminascene, TL) พบว่าอิฐที่ฐานองค์พระบรมธาตุมีอายุราว 1119 บวกลบ 67 ปี และยังเป็นตัวแทนการเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนจากอดีตตราบจนทุกวันนี้

งานสถาปนิกทักษิณ’63 “อาษา-มาหา-นคร”
โดย ASACREW
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Update

    The Commons Saladaeng

    เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: Courtesy of Department of Architecture หากจะเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง สถาปนิกก็คงเป็นเหมือนผู้กำกับที่จะกำหนดแนวทางและกำกับให้ภาพยนตร์เป็นไปตามแนวทางนั้น และภาพยนตร์บางเรื่องที่ได้รับความนิยมและการกล่าวถึง…

    โดย ASACREW
  • Update

    Walk & Talk with an architects #2 at AUBE Wedding Venue

    บ่ายวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ASA CREW จัดกิจกรรม Walk & Talk with an architects ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เปิดโอกาสพิเศษให้สมาชิกสมาคมฯ 15 ท่าน ได้มาสัมผัสประสบการณ์จริงในสถาปัตยกรรมสำหรับพิธีการแต่งงานโดยเฉพาะ อย่าง AUBE Wedding Venue พร้…

    โดย ASACREW
  • Update

    PILOK COMMUNITY SPACE

    เรื่อง: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ ภาพ: อาศรมศิลป์ โครงการศูนย์บริการสำหรับการให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Literacy) ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนเชิงเขา หมู่บ้านอิต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งนอกจ…

    โดย ASACREW