One Day with an Architect: พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล

Talk / 13 พ.ย. 2019

เรื่อง: ปวริศ คงทอง
ภาพ: PLOT BAND

“การที่เราไปเล่นดนตรีหรือว่าไปทำอย่างอื่นทำให้เราได้เอาตัวเองออกจากความหมกมุ่นของงานสถาปนิกชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งพอเรากลับมามองงานที่ทำอยู่อีกรอบ เราจะได้มุมมองที่ดีขึ้นและเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองชัดเจนขึ้น” วิทย์-พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง PHTAA Living Design

พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล เล่นดนตรีกับเพื่อนๆ วง PLOT

ดนตรีอาจจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เป็นกิจกรรมยามว่างและผ่อนคลายความเครียดสำหรับใครหลายๆ คน แต่ในวันนี้ทีมงาน ASA CREW จะพาทุกท่านไปรู้จักกับอีกตัวตนในฐานะนักดนตรีของคุณวิทย์ พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท PHTAA Living Design ซึ่งมีวงดนตรีชื่อว่าวง PLOT ที่ร่วมกันทำกับเพื่อนมาตั้งแต่สมัยเรียนจนถึงปัจจุบัน

พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง PHTAA Living Design มือเบสวง PLOT

ASA CREW: จุดเริ่มต้นของวงพล็อตมาจากไหน
คุณวิทย์: จุดเริ่มต้นมันก็ตั้งแต่สมัย ม.5-ม.6 ได้ครับ แต่ตอนที่เริ่มทำเป็นวงก็คือตอนเรียนปี 2 ที่ คณะสถาปัตย์ ม.ศิลปากร เริ่มเอาคอมพิวเตอร์มาทำเพลงแบบจริงจังกับเพื่อน โดยที่มีรุ่นน้องคนหนึ่งเป็นมือกลอง กับเพื่อนอีกคนที่เรียนสถาปัตย์รุ่นเดียวกัน

ASA CREW: เล่าถึงเวลาที่วงไปเล่นหน่อยครับ ว่าในหนึ่งวันที่เล่นต้องทำอะไรบ้าง
คุณวิทย์: อย่างแรกเลยคือวันที่เราเล่น ก่อนจะเล่นดนตรีก็จะต้องมีการ sound check ก่อน ส่วนใหญ่เวลาวงเล่นก็มักจะได้เล่นตอนกลางคืน ช่วงเวลาประมาณ 14.00-15.30 น. เราก็จะต้องเตรียมตัว sound check ทั้งนักดนตรีแล้วก็ sound engineer ซึ่งขั้นตอนของการ sound check จริงๆ มันเหนื่อยมาก เพราะมันเหมือนกับการเล่นจริงรอบหนึ่งก่อน ซึ่งพอเซ็ททุกอย่างเสร็จ นักดนตรีก็จะมีเวลาพักนิดหน่อยก่อนที่จะต้องกลับเข้ามาเตรียมตัวเล่นจริง

พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง PHTAA Living Design มือเบสวง PLOT

ASA CREW: คิดว่าการที่มีวงดนตรีมันส่งผลอย่างไรกับการทำงานสถาปนิกบ้าง
คุณวิทย์: ก่อนอื่นเลยคือผมรู้สึกว่าการทำงานสถาปนิกมันเหมือนมีความหมกมุ่นอยู่กับอะไรบางอย่าง ซึ่งก็คือโปรเจคที่เรากำลังทำอยู่ แล้วการที่เราไปเล่นดนตรีหรือว่าไปทำอย่างอื่น มันทำให้เราได้เอาตัวเองออกจากความหมกมุ่นของงานสถาปนิกชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งพอเรากลับมามองงานที่ทำอยู่อีกรอบ เราจะได้มุมมองที่มันดีขึ้นและเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองชัดเจนขึ้น วงผมไม่ได้เล่นสดบ่อยๆ ปีหนึ่งน่าจะไม่เกิน 5 ครั้ง เพราะฉะนั้นการเล่นแต่ละครั้งมันเหมือนกับการได้รีเฟรชตัวเองมากกว่า แล้วดนตรีก็เป็นเหมือนกับ sound track หนึ่งในชีวิตเรา พอมีเพลงใหม่ๆ ของวงที่ชอบออกมา มันก็เป็นเรื่องที่ทำให้เราชวนคุยกันกับน้องๆ ในออฟฟิศก็ทำให้ความสัมพันธ์ในออฟฟิศดีขึ้นด้วย ผมมองว่าอะไรต่างๆ เหล่านี้มันเชื่อมโยงกันอยู่ ผมเลยเลือกที่จะเล่นดนตรีต่อไปเรื่อยๆ

ASA CREW: แล้วในทางกลับกัน งานสถาปนิกมีผลต่อการทำดนตรีอย่างไรบ้าง
คุณวิทย์: มีครับ อย่างหนึ่งที่งานทำดนตรีกับงานสถาปนิกคล้ายกันคือความสัมพันธ์ระหว่างมือกับสมอง ต่างกันนิดหน่อยก็ตรงที่ดนตรีเราใช้หู แต่งานสถาปนิกเราใช้ตาเท่านั้นเอง แล้วอีกอย่างคือขั้นตอนการทำงานของมันคล้ายกัน เพราะการเป็นสถาปนิกมันสอนให้เราทำงานเป็นขั้นตอน ซึ่งงานดนตรีมันก็เป็นงานที่มีขั้นตอน การที่เราจะออกแบบสถาปัตยกรรมสักโครงการเราก็ต้องหาทีมงานมาช่วยคิดช่วยทำ ส่วนการทำดนตรีสักเพลงก็ต้องมีคนหลายคนช่วยกันเหมือนกัน แล้วสุดท้ายทั้งสองอย่าง เราก็คาดหวังว่าภาพสุดท้ายจะออกมาดีเหมือนกัน

พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง PHTAA Living Design มือเบสวง PLOT

“ผมเน้นย้ำการทำงานแบบกลุ่มเสมอ ผมคิดว่าการทำงานที่ดีที่สุดคือการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะอย่างนั้นผมถึงชอบดนตรีและสถาปัตยกรรม” – วิทย์-พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล

โดย ASACREW
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Talk

    Round Table Talk: Sook Siam

    อีกหนึ่งโครงการตลาดที่น่าสนใจในช่วงนี้คือพื้นที่ตลาดที่ถูกจับมาไว้ในศูนย์การค้าอย่างโครงการสุขสยาม โครงการตลาดที่นำเอาสินค้าตัวแทนจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยมาจัดไว้รวมกันในโครงการ ICONSIAM และในครั้งนี้ทีมงาน ASA CREW ก็ได้โอกาสพูดคุยกับคุณโอ๊ต-ชยะพงส…

    โดย ASACREW
  • Talk

    Boonserm Premthada | Bangkok Project Studio

    เรื่อง: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ กล่าวได้ว่า ณ เวลานี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา และ Bangkok Project Studio ซึ่งไม่ได้เพียงเป็นที่รู้จักในวงการสถาปัตยกรรมไทยเท่านั้น หากแต่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รางวัล The Royal Academy Doftman Award แล…

    โดย ASACREW
  • Talk

    Interview: ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

    เรื่อง: ASA CREW Team ภาพ: ASA CREW Team ASA CREW: การออกแบบอาคารที่เป็น “Smart Building” ที่เกี่ยวข้องกับสถาปนิกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะ “Smart” กันตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การก่อสร้าง หรือไปจนถึงการจัดการอาคาร พัฒนากันไปถึงไหนแล้วบ้างคะ ดร.นนท์: ก่อนอื่น …

    โดย ASACREW