บ้านทางเลือกดินและไม้ไผ่ นวัตกรรมธรรมชาติจากอดีตสู่อนาคต

Learn / 28 ต.ค. 2018

ปัจจุบันงานออกแบบก่อสร้างบ้านและอาคารมีการนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาง่ายและลดกระบวนการผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงานมาใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น แนวคิดการสร้างบ้านดินและบ้านไม้ไผ่จึงมีการออกแบบนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ ภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังกลับมาเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต ดินและไม้ไผ่ถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในเกือบทุกพื้นที่และมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งถ้าอาคารที่ต้องการนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากก็อยู่ในวิสัยที่จะฝึกฝนให้สามารถทำด้วยตัวเองได้

บ้านดิน     

บ้านดินถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาดั้งเดิมในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีเทคนิควิธีในการก่อสร้างที่หลากหลาย ต่อมาได้รับการศึกษาพัฒนาจนได้รับการรองรับด้วยกฎหมายในหลายประเทศ โดยมีการพัฒนาส่วนผสม เช่น การผสมปูนขาวหรือคอนกรีต เพื่อทำให้สามารถทนต่อการกัดเซาะของฝนได้ดีมากขึ้น เทคนิคการสร้างบ้านดินที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธี คือการทำเป็นอิฐดินดิบและการใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินผสมฟาง

ดินที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการสร้างบ้านดินคือ ดินที่มีดินเหนียวเพียงพอที่จะทนต่อการกัดเซาะของน้ำ (ฝน) และมีทรายมากพอที่จะช่วยไม่ให้เกิดการแตกร้าว (จากการที่มีดินเหนียวมากเกินไป) ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยการนำดินที่มีอยู่ในพื้นที่มาผสมน้ำเล็กน้อย นวดและปั้นให้เป็นก้อน ขนาดเท่ากับกำปั้นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ถ้ามีรอยแตกร้าวแสดงว่าควรจะผสมทรายเพิ่ม ถ้าไม่แตกร้าวให้ทดลองนำไปจุ่มในน้ำ ถ้าละลายอย่างรวดเร็วแสดงว่ามีทรายมากเกินไป ในการทำอิฐดินดิบจะมีการผสมแกลบ แล้วนำไปใส่ไม้แบบโดยเมื่อเทดินใส่แล้วจะทำการยกไม้แบบออกทันที เพื่อปล่อยให้อิฐแห้งก่อนจะนำไปใช้ ส่วนในการใช้โครงไม้นั้นจะต้องมีการทำผนังโครงสร้างตีเป็นตาตาราง (ให้มีช่องว่างพอที่จะลอดแขนเข้าไปทำงานได้ทั้งสองด้าน) จากนั้นนำดินที่ผสมฟางเส้นยาวมาวางพาดแล้วลูบผิวให้เรียบ

ข้อดีของการทำอิฐดินดิบคือ สามารถทยอยทำอิฐสะสมไว้ก่อนได้ และใช้เวลาไม่มากในช่วงก่อสร้าง สามารถใช้เป็นผนังหรือโครงสร้างรับน้ำหนักได้ ในขณะที่การใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างหลักที่จะรับน้ำหนักหลังคา (ซึ่งอาจจะเป็นเหล็กคอนกรีต อิฐดินดิบ หรือวัสดุอื่นก็ได้) แต่ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามบ้านดินยังคงมีข้อด้อย คือแพ้น้ำที่อาจท่วมขังในระยะยาว การออกแบบจึงควรทำฐานรากและมีชายคาที่ยื่นยาว เพื่อป้องกันความชื้นจากดินและฝนที่จะปะทะกับผนังดินโดยตรง รวมทั้งไม่สามารถสร้างบนพื้นที่ซึ่งอาจมีน้ำท่วมขัง ยกเว้นการผสมก่อสร้างด้วยดินผสมคอนกรีตในอัตราสว่นประมาณ 7-10 เปอรเ์ซ็นต์

บ้านไม้ไผ่   

ไม้ไผ่เป็นวัสดุทางธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงมากในการนำมาใช้งาน ไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้าซึ่งโตได้รวดเร็ว มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงสูง สามารถตัดนำมาใช้ในการสร้างบ้านได้ภายใน 3 ปี แม้ว่าแต่เดิมจะเป็นวัสดุที่อาจได้รับความเสียหายจากการกัดกินของมอด แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการในการรักษาเนื้อไม้ เพื่อป้องกันการความเสียหายจากมอด และการยึดต่อทางโครงสร้างให้มีความคงทนแข็งแรงและเหมาะสมกับการก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ในประเทศไทยมีพันธุ์ไผ่ที่สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้มากกว่า  28 ชนิด แต่ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายมีอยู่ไม่มาก ที่นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง ได้แก่ ไผ่ตง ซึ่งมีนาดใหญ่ เนื้อหนา สามารถนำมาใช้ทำเป็นโครงสร้างเสาและคานได้ ไผ่เลี้ยงมีขนาดประมาณ 2 – 3 นิ้วใช้สำหรับเป็นโครงสร้างรอง และไผ่รวกมีขนาดประมาณ 1 – 2 นิ้ว ใช้ในการประดับตกแต่ง ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ควรเป็นไม้ไผ่อายรุะหว่าง 3 – 5 ปี และผ่านกระบวนการรักษาไม้ไผ่ที่นำมาใช้ควรเป็นไม้ไผ่อายุระหว่าง 3 –5 ปี และผ่านกระบวนการรกัษาเนื้อไม้ (เพื่อป้องกันการกัดกินของมอด) รวมทั้งออกแบบให้เสาไม่สัมผัสกับพื้นโดยตรง และมีชายคาเพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ไผ่ปะทะกับแดดและฝนโดยตรง เพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคารไม้ไผ่ให้ยืนยาวมากขึ้น

ในการยึดรอยต่อต่างๆ ควรใช้สตั๊ดเหล็กและน็อต รวมทั้งใส่คอนกรีตในจุดที่รับน้ำหนักมากเพื่อความแข็งแรงทางโครงสร้าง หรือใช้สกรูปลายสว่านสำหรับไม้ไผ่ที่มีขนาดเล็ก ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้เหล็กอาจใช้ลิ่มไม้ไผ่ตอกยึดพร้อมกับการใช้เชือกรัด เพื่อป้องกันการถอนตัวของลิ่มไม้ไผ่ในระยะยาว ในอาคารเดียวกันอาจเลือกใช้วิธีการยึดทั้งเหล็กและลิ่มไม้ไผ่ผสมผสานกันได้

ทั้งนี้ในการออกแบบก่อสร้างสามารถนำวัสดุทั้งดินและไม้ไผ่มาผสมผสานกับวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในปัจจุบันได้ตามความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นได้อีกด้วย

โดย asa
Facebook
Twitter
Pinterest

บทความที่น่าสนใจ

  • Learn

    ASA TAKSIN: การเดินทางสู่โลกนิรันดร์ “กลุ่มสถาปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน”

    เรื่อง: กิตติ เชาวนะ ภาพ: ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง การเดินทางของเราเพื่อเรียนรู้วิถีความเชื่อและศรัทธาของกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ที่สร้างการขับเคลื่อนที่น่าจับตามอง เริ่มต้นขึ้นที่สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก ในชุมชนมุสลิมชานเมืองที่เงียบสงบของจังหวัดสตู…

    โดย ASACREW
  • Learn

    The Jungle Camp

    เรื่อง: กฤษณะพล วัฒนวันยู ภาพ: Multiple sources หากใครที่ได้ติดตามข่าวการอพยพ/ลี้ภัยที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คงจะพอคุ้นหูกับชื่อ Calais camp อยู่บ้าง หรือมักเป็นที่รู้จักในอีกชื่อคือ The Jungle ซึ่งเป็นค่ายรองรับผู้อพยพ/ลี้ภัยที่มา…

    โดย ASACREW
  • Learn

    Co-Creation: กระบวนการร่วมสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม

    เรื่อง : ดร. สุปรียา หวังพัชรพล ภาพ : เครดิตตามภาพ Co-creation เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยครั้งมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ อาทิ แนวคิดเมืองค้าปลีกรูปแบบใหม่ “Co-creation” ในการเปิดตัว ICONSIAM กับตัวอย่างของพื้นที่ “สุ…

    โดย ASACREW